• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

โรคเน่าเละที่เกิดจากแบคทีเรียของหอมหัวใหญ่

Started by deam205, October 19, 2024, 07:30:36 AM

Previous topic - Next topic

deam205



โรคเน่าเละที่เกิดจากแบคทีเรียของหอมหัวใหญ่

โรคเน่าเละที่เกิดจากแบคทีเรียของหอมหัวใหญ่(bacterial soft rot of onion)
โรคเน่าเละส่วนใหญ่จะพบและก่อให้เกิดความเสียหายเฉพาะในหอมหัวใหญ่ ทั้งขณะที่ยังปลูกอยู่ในแปลงและหลังเก็บเกี่ยวแล้ว เป็นโรคที่บางครั้งอาจก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง หากสิ่งแวดล้อมเหมาะสมและไม่ได้รับการป้องกันกำจัดที่ดีพอ

อาการโรค
ขณะที่ยังอยู่ในแปลงปลูก การเกิดโรคมักจะเริ่มขึ้นในระยะที่พืซลงหัวโตเต็มที่ใกล้เก็บเกี่ยวได้แล้ว การเข้าทำลายของเชื้อมักจะเริ่มตรงส่วนคอหรือโคนต้น โดยผ่านทางแผลที่ใบแก่ที่เ.่ยวหรือหักพับ จากนั้นเชื้อก็จะเจริญเติบโตเคลื่อนลงมายังกาบ (scale) ของหัวที่ต่อเชื่อมกับใบหรือลึกเข้าไปภายในต้นก่อให้เกิดอาการแผลเน่าขยายลุกลามกว้างขวางออกไป มองดูภายนอกแผลจะมีลักษณะช้ำ เป็นสีน้ำตาลหรือเทาอ่อนๆ เมื่อเอามือจับหรือกดดูจะรู้สึกอ่อนนิ่ม พร้อมกับจะมีน้ำเหลวๆ ซึมออกมาจากแผลดังกล่าว เชื้ออาจจะเข้าทำลายโดยตรงที่ส่วนของหัวหอมขณะเก็บเกี่ยว โดยผ่านทางแผลรอยช้ำ และหากนำไปเก็บไว้ในที่อับชื้นอุณหภูมิสูงก็จะก่อให้เกิดอาการเน่าขึ้นกับกาบของหัวหอมชั้นนอกๆ ที่ถูกเชื้อเข้าไปในตอนแรก และถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ ในที่สุดอาจจะเน่าเสียหมดทั้งหัว อาการเน่าเละของหอมที่เกิดจากเชื้อ E. carotovora ปกติจะมีกลิ่นเหม็นเฉพาะตัวเช่นเดียวกับเน่าเละในผักชนิดอื่นๆ แต่บางครั้งอาจมีกลิ่นฉุนคล้ายกำมะถันหรือกลิ่นเปรี้ยว คล้ายกรดนํ้าส้มเกิดขึ้นตามมา ทั้งนี้เนื่องจากมีเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นเข้าไปช่วยทำลายต่อทำให้กาบที่เรียงซ้อนเป็นชั้นๆ โรคหอมกระเทียม ของหัวหอมที่เน่าจะล่อนลื่นหลุดออกมาได้โดยง่าย เมื่อไปจับต้องหรือสัมผัสเข้า
เชื้อสาเหตุโรค
ส่วนใหญ่พบว่าเป็นเชื้อ Erwinia carotovora ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดเดียวกันกับที่ก่อโรคเน่าเละในผักอื่นๆ นอกจากนั้นยังพบว่ามีPseudomonas alliicola และ Pseudomonas cepacia อีกสองชนิดที่ก่อให้เกิดอาการเน่าในลักษณะคล้ายๆ กัน หรือร่วมเข้าทำลายอยู่ด้วย โดยทำให้เกิดกลิ่นคล้ายกำมะถัน และกลิ่นเปรี้ยวคล้ายกรดน้ำส้ม หรือก่อให้เกิดอาการกลีบเปลือกอ่อนหลุดออกโดยง่าย (slippery skin) ขึ้นกับหัวหอม

การอยู่ข้ามฤดูและการแพร่ระบาด
หลังจากเข้าทำลายพืชแล้วหากขณะยังอยู่ในแปลงปลูก เมื่อพืชตายเชื้อก็จะเจริญเติบโตในดินดังกล่าว โดยอาศัยเกาะกินเศษซากพืชได้ต่อไปจนถึงฤดูปลูกใหม่ก็จะกลับขึ้นมาทำลายพืชอีก โดยผ่านทางแผลหรือเนื้อเยื่อของใบที่แก่เต็มที่ เมื่อเกิดโรคแสดงอาการขึ้นกับต้นพืชต้นใดต้นหนึ่งแล้ว จากนั้นก็อาจจะแพร่ระบาดต่อไปยังต้นอื่นๆ โดยหนอนแมลงวัน (maggot fly) น้ำที่สาดกระเซ็น การจับต้องสัมผัส สำหรับการติดโรคกับหัวหอมหลังเก็บเกี่ยวแล้ว มักจะเกิดโดยผ่านทางแผลที่เกิดจากการกดกระแทกหรือการบรรจุที่เบียดอันแน่นเกินไป

การป้องกันกำจัด
1. ควรเก็บเกี่ยวหัวหอมเมื่อแก่เต็มที่และปล่อยไว้ในแปลงจนกระทั่งเปลือกชั้นนอกสุกและใบที่มีอยู่แห้งดีแล้ว
2. วิธีการบรรจุหัวหอมลงภาชนะ.บห่อตลอดจน การขนส่งควรทำด้วยความระมัดระวัง ภาชนะที่ใช้บรรจุควรโปร่งเพื่อให้มีอาการถ่ายเทได้ และไม่เบียดอัดแน่นจนเกินไป อาจทำให้เกิดรอยช้ำหรือแผลที่หัวหอมทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
3. เมื่อพบว่ามีหัวหอม แสดงอาการเน่าให้รีบฉีดพ่นด้วยkokomax.co.th/product/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A/]โคโค–แมกซ์ KOKOMAX[/url] เพื่อหยุดการแพร่ระบาด และกำจัดโรค ให้ใช้อัตรา 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นตอนเย็นลงโคน 7-10 วันครั้ง